วิธีการบันทึกบัญชีสินค้า การบันทึกบัญชีสินค้า ตามหลักการบัญชีแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจการทำงานทั้ง 2 วีธีนี้ ว่าแตกต่างกันอย่างไร และ แต่ละวิธีเหมาะกับกิจการลักษณะไหนบ้าง เพื่อให้ทุกท่านใช้เป็นแนวทางในการเลือกวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะของ กิจการ วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method ) เหมาะสำหรับธุรกิจขายปลีก มีสินค้าจำนวนมากหลากหลายประเภทและสินค้าส่วนใหญ่มีราคาไม่สูง ราคาต่อหน่วยต่ำ ปริมาณในการขายในแต่ละวันมีจำนวนมากและมีการขายบ่อยครั้ง เช่น ขายยา เครื่องเขียน เป็นต้น วิธีนี้กิจการจะทราบยอดสินค้าคงเหลือ ณ วันใดวันหนึ่ง หรือ ณ วันสิ้นงวดบัญชีได้โดยการตรวจนับตัวสินค้า และทำการตีราคาสินค้า แต่ไม่อาจทราบยอดคงเหลือได้จากสมุดบัญชี เพราะการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ เวลาซื้อจะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้า แต่จะบันทึกเป็นบัญชีซื้อแทน วิธีนี้จึงเหมาะกับสินค้าที่ไม่สะดวกที่จะคำนวณต้นทุนขาย ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าจึงไม่มีการบันทึกต้นทุนขาย และลดยอดสินค้าคงเหลือเมื่อมีการขายสินค้า ต้องรอจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีจึงจะทำการตรวจนับสินค้า และคำนวณมูลค่าคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี ผลต่างระหว่างสินค้าที่เหลืออยู่กับสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย ก็จะเป็นต้นทุนในการขายประจำงวดนั้น วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง ( Perpetual Inventory Method ) เหมาะสำหรับธุรกิจขายส่ง หรือธุรกิจที่ขายสินค้าประเภทปริมาณขายไม่มากนัก แต่ราคาต่อหน่วยสูง คำนวณต้นทุนต่อหน่วยได้ง่าย เช่น ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ บ้าน เป็นต้น ตามวิธีนี้จะสามารถทราบยอดสินค้าคงเหลือได้จากยอดคงเหลือในบัญชีสินค้า ณ วันใดวันนึ่ง หรือยอดคงเหลือ ณ ปัจจุบันได้ทันที เนื่องจากกิจการจะบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ ไว้ในบัญชีสินค้า และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่ขายไว้ในบัญชีต้นทุนขาย โดยที่กิจการจะมีการจัดทำ “บัตรสินค้า (Stock Card)” เพื่อใช้ในการบันทึกรายการซื้อ ขาย ส่งคืนและรับคืนสินค้า ซึ่งจะทำให้ทราบต้นทุนสินค้าที่ขาย และมูลค่าคงเหลือของสินค้า โดยไม่ต้องมีการตรวจนับสินค้า บริษัทที่มีขนาดใหญ่มักใช้วิธีนี้ในการบันทึกบัญชีสินค้า ในปัจจุบัน ธุรกิจส่วนมากได้นำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาใช้ การใช้โปรแกรมดังกล่าว ทำให้กิจการสามารถตรวจเช็คยอดสินค้าคงเหลือได้อย่างตลอดเวลา (บันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง) ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน ถึงแม้ระบบสินค้าแบบต่อเนื่องถูกนำมาใช้ แต่การบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวดก็ยังคงมีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เช่น กรณีที่ข้อมูลที่ถูกบันทึกเกี่ยวกับสินค้าในระบบผิดพลาด หรือไม่น่าเชื่อถือ ก็อาจนำวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวดมาใช้ก็ได้ ความแตกต่างในการบันทึกบัญชีระหว่าง 2 วิธี

วิธีการคำนวณต้นทุนขายสินค้า การคำนวณต้นทุนขายสินค้า ในระบบของ Express แบ่งเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (First-in, First-out Method หรือ FIFO Method) และ วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted-average Method) ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความเหมาะสมกับประเภทของสินค้าที่ต่างกัน โดยแบ่งพิจารณาได้ดังนี้ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (First-in, First-out Method หรือ FIFO Method) วิธีนี้สินค้าที่ซื้อหรือผลิตขึ้นมาก่อน จะถูกขายออกไปก่อน ดังนั้นยอดสินค้าคงเหลือจะเป็นราคาที่ซื้อเข้ามาล๊อตล่าสุด ซึ่งการคำนวณต้นทุนวิธีนี้จะเหมาะกับสินค้าที่เน่าเสียง่าย หรือ มีเงื่อนไขเรื่องวันหมดอายุเข้ามาเกี่ยวข้อง แสดงตัวอย่างการตัดต้นทุนได้ดังนี้ ตัวอย่างรายการเคลื่อนไหวภายในเดือน:-

 จาก ตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า การขายสินค้าวันที่ 19 มค. จะตัดต้นทุนจากสินค้าที่เป็นยอดยกมาของ 1 มค. ก่อน ซึ่งเป็นล็อตที่รับเข้ามาก่อน ดังนั้นมูลค่าของสินค้าคงเหลือ จะประกอบด้วยราคาจาก 2 ล๊อตด้วยกัน วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted-average) วิธีนี้จะนำมูลค่าสินค้ามาเฉลี่ยหาราคาต้นทุนให้ใหม่ทุกครั้งที่มีการซื้อ เข้ามา การคำนวณต้นทุนวิธีนี้จะเหมาะกับสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง หรือ เป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันและราคาใกล้เคียงกัน ซึ่งจากตัวอย่างการเดินรายการข้างต้น สามารถแสดงการตัดต้นทุนได้ดังนี้

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการซื้อสินค้าเข้าใหม่ จะนำมูลค่าสินค้าที่เหลือก่อนหน้า กับ มูลค่าของการซื้อมาบวกกัน แล้ว หารด้วยจำนวนรวม ก็จะได้เป็นราคาต้นทุนใหม่ที่จะใช้เป็นต้นทุนสำหรับการขาย และราคาทุนเฉลี่ยนี้ก็จะถูกนำมาเป็นมูลค่าของสินค้าคงเหลือด้วย อ้างอิงข้อมูลจาก :- - http://coursewares.mju.ac.th/ac102/lessonQa/less%203/less%203.htm - http://yellow170151.spaces.live.com/blog/cns!1E96EF252D733E15!649.entry?_c=BlogPart |