การกำหนดค่าเริ่มระบบ 1. กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า เมนูนี้มีไว้สำหรับกำหนดกลุ่มบัญชีเพื่อที่จะนำไปลงบัญชีในสมุดรายวันต่าง ๆ โดยจะแยกตามประเภทของวัสดุต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น วัสดุโฆษณาและเผยแพร่, วัสดุสำนักงาน, วัสดุงานบ้านงานครัว เป็นต้น เมนูที่ใช้คือเมนูเริ่มระบบ-> 1.กำหนดค่าเริ่มต้นต่าง ๆ -> 3.ระบบสินค้าคงเหลือ -> 2.กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า
 รูปภาพ 1 หน้าจอกลุ่มบัญชีสินค้าที่กำหนดไว้แล้ว
บัญชีสินค้า คือเลขที่บัญชีที่จะใช้ลงบัญชีเมื่อมีการซื้อวัสดุประเภทนั้น ๆ เข้าสต๊อค (หมวดสินทรัพย์) ส่วนบัญชีต้นทุนขาย คือเลขที่บัญชีที่จะใช้ลงบัญชีเมื่อมีการเบิกวัสดุประเภทนั้น ๆ ออกจากสต๊อค (หมวดค่าใช้จ่าย) 2. กำหนดคลังสินค้า เป็นเมนูสำหรับกำหนดคลัง สินค้าที่ใช้ในการเก็บสต๊อควัสดุต่าง ๆ เวลามีการรับเข้า หรือจ่ายวัสดุออก สามารถกำหนดคลังสินค้าในแต่ละเอกสารได้ด้วย ว่าจะรับเข้า หรือจ่ายออกจากคลังใด และสามารถดูรายงานสินค้าแยกตามคลังได้ด้วยเช่นกัน เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 2.กำหนดตารางข้อมูล –> 21 คลังสินค้า
รูปภาพ 2 กำหนดคลังสินค้า
3. กำหนดหมวดสินค้า เป็น เมนูสำหรับกำหนดหมวดสินค้าหรือวัสดุต่าง ๆ เช่น หมวดวัสดุสำนักงาน, หมวดเวชภัณฑ์, หมวดงานบ้านงานครัว เป็นต้น ซึ่งเวลาดูรายงาน สามารถดูรายงานสินค้าแยกตามหมวดได้ด้วย เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 2.กำหนดตารางข้อมูล –> 22 หมวดสินค้า
รูปภาพ 3 กำหนดหมวดสินค้า
4. กำหนดรอบบัญชี เป็นเมนูสำหรับกำหนดรอบบัญชีของโรงพยาบาล ซึ่งวันที่เริ่มรอบบัญชีจะเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน ของทุก ๆ ปี เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 3. กำหนดรอบบัญชี
5. กำหนดเลขที่เอกสาร เป็นเมนูสำหรับกำหนดเมนูย่อยต่าง ๆ ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ใบรับสินค้าสามารถกำหนดเมนูย่อย ๆ ได้อีก โดยแยกเป็นแต่ละประเภทของวัสดุ เพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสาร เช่น วัสดุสำนักงานแบบพิมพ์, วัสดุงานบ้านงานครัว, วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ เป็นต้น เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 4. กำหนดเลขที่เอกสาร
รูปภาพ 4 เลขที่เอกสารที่ได้กำหนดไว้
6. กำหนดแผนก เป็นเมนูสำหรับกำหนดรหัสของแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาล เวลาออกเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบจ่ายวัสดุภายใน สามารถกำหนดแผนกที่ต้องการได้ และสามารถออกรายงานสินค้าแยกตามแผนกได้ด้วย เพื่อที่จะได้ทราบว่าแผนกใด เบิกของอะไรไปบ้าง เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 7. กำหนดแผนก
รูปภาพ 5 แผนกที่ได้กำหนดไว้แล้ว
การเตรียมฐานข้อมูล 1. การกำหนดรายละเอียดวัสดุต่าง ๆ เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัสดุต่าง ๆ ที่มีการรับเข้า หรือจ่ายออก ประกอบด้วยรหัสของวัสดุ , ชื่อ, หน่วยนับ ฯลฯ ซึ่งรหัสนั้นสามารถกำหนดได้ไม่เกิน 20 ตัวอักษร เมนูที่ใช้คือ เมนูสินค้า –> 2. รายละเอียดสินค้า
รูปภาพ 6 รายละเอียดวัสดุที่ได้กำหนดไว้
2. การกำหนดรายละเอียดรายได้อื่น ๆ เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดรายได้ของโรงพยาบาล เช่น ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน เป็นต้น เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> ข้อ7. รายละเอียดรายได้อื่น ๆ
รูปภาพ 7 รายละเอียดรายได้อื่น ๆ ที่ได้กำหนดไว้
บัญชีรายได้ คือเลขที่บัญชีที่ใช้ในการลงบัญชี เลขที่บัญชีดังกล่าวจะถูกดึงมาจากผังบัญชีที่ได้กำหนดไว้
3. การกำหนดรายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล หรือรายละเอียดของวัสดุ ที่ไม่ต้องการเก็บ สต๊อค ถือเป็นค่าใช้จ่ายไปเลย ในตอนที่รับวัสดุนั้น ๆ เข้ามา เช่น ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วย รหัส, ชื่อ, หมวด, หน่วยนับ และเลขที่บัญชีค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถดึงมาจากผังบัญชี เมนูที่ใช้คือ เมนูซื้อ –> 7. รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
รูปภาพ 8 รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ได้กำหนดไว้
บัญชีค่าใช้จ่าย คือเลขที่บัญชีที่ใช้ในการลงบัญชี เลขที่บัญชีดังกล่าวจะถูกดึงมาจากผังบัญชีที่ได้กำหนดไว้
4. การกำหนดรายละเอียดผู้จำหน่าย เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดของผู้จำหน่ายที่โรงพยาบาลได้มีการซื้อเวชภัณฑ์ หรือวัสดุต่าง ๆ ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย รหัสผู้จำหน่าย, ชื่อ, ที่อยู่, เลขที่บัญชี ฯลฯ เมนูที่ใช้คือ เมนูซื้อ –> 6. รายละเอียดผู้จำหน่าย
รูปภาพ 9 รายละเอียดผู้จำหน่ายที่ได้กำหนดไว้
เลขที่บัญชี คือเลขที่บัญชีที่ใช้ในการลงบัญชี เลขที่บัญชีดังกล่าวจะถูกดึงมาจากผังบัญชีที่ได้กำหนดไว้
5. การกำหนดรายละเอียดลูกค้า เป็น เมนูสำหรับกำหนดรายละเอียดของคนไข้ โดยจะแบ่งเป็นแต่ละกลุ่มของคนไข้ เช่น คนไข้นอก, คนไข้ใน, คนไข้มัดจำ เป็นต้น เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> 6. รายละเอียดลูกค้า
 รูปภาพ 10 รายละเอียดลูกค้าที่ได้กำหนดไว้ การเดินรายการประจำวัน 1. ใบสั่งซื้อ เมนู นี้มีไว้สำหรับกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้า หรือวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ้างอิง ตอนเปิดใบรับสินค้า หรือใบตรวจรับ ใบสั่งซื้อนี้จะมีด้วยกัน 2 ฟอร์ม ฟอร์มแรก (กด Alt-P) เป็นฟอร์มสำหรับส่งให้ผู้จำหน่าย เพื่อออกใบกำกับสินค้า และส่งของมาให้ตามที่โรงพยาบาลต้องการ ส่วนฟอร์มที่สอง (กด Alt-2) เป็นฟอร์มสำหรับส่งให้ผู้อำนวยการเพื่อเซ็นอนุมัติการสั่งซื้อวัสดุดังกล่าว เมนูที่ใช้คือ เมนูซื้อ –> 3. ใบสั่งซื้อ แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการ
รูปภาพ 11 ตัวอย่างใบสั่งซื้อ ***ดูภาคผนวก หน้า 1-2***
2. ซื้อเงินเชื่อ (ใบตรวจรับพัสดุ / ตรวจการจ้าง) เมื่อ ผู้จำหน่ายส่งของมาตามที่ต้องการแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะมีหน้าที่ออกเอกสารใบรับสินค้า หรือใบตรวจรับพัสดุ โดยจะมีการอ้างอิงเอกสารใบสั่งซื้อ ซึ่งได้ทำไว้แล้ว
รูปภาพ 12 ตัวอย่างใบตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ***ดูภาคผนวก หน้า 3***
3. จ่ายสินค้าภายใน เมื่อ มีแผนกใดแผนกหนึ่ง มาเบิกพัสดุเพื่อนำออกไปใช้ เช่น เวชภัณฑ์, วัสดุสำนักงาน เป็นต้น ทางฝ่ายคลังก็จะมีหน้าที่ทำใบเบิกจ่ายสินค้าภายใน เพื่อพิมพ์เป็นเอกสารให้กับผู้เบิกได้เซ็นรับของ เมนูที่ใช้คือ เมนูสินค้า –> 1. รายการประจำวันสินค้า –> จ่ายสินค้าภายใน แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการ
รูปภาพ 13 ตัวอย่างใบจ่ายวัสดุภายใน ***ดูภาคผนวก หน้า 4***
ในสมุดรายวันทั่วไป จะลงบัญชีโดย
 รูปภาพ 14
4. จ่ายชำระหนี้ เมื่อ ถึงวันครบกำหนดจ่ายชำระหนี้ค่าพัสดุให้กับผู้จำหน่าย ฝ่ายการเงินก็จะมีหน้าที่ทำเช็ค เพื่อออกใบจ่ายชำระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ฟอร์ม ฟอร์ม 1 จะเป็นฟอร์มขออนุมัติจ่าย เพื่อให้ผู้อำนวยการเซ็นอนุมัติการจ่ายดังกล่าว ส่วนฟอร์ม 2 เป็นฟอร์มใบจ่ายเงิน ที่ส่งให้ผู้จำหน่าย เมนูที่ใช้คือ เมนูการเงิน –> 2. จ่ายเงิน –> 4. จ่ายชำระหนี้ แล้วเลือกหัวข้อที่ต้องการว่าจะจ่ายจากเงินประเภทใด
 รูปภาพ 15 ***ดูภาคผนวก หน้า 5-6***
5. รับเงินมัดจำค่ารักษา กรณี รับเงินมัดจำค่ารักษาจากคนไข้ หากคนไข้มาเข้ารับการรักษา ภายใน 90 วัน ค่ารักษาที่เกิดขึ้น จะหักจากเงินมัดจำที่ให้มา เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> ข้อ 1 รับเงินมัดจำ
 รูปภาพ 16
เมื่อกรอกรายละเอียดในเมนูรับเงินมัดจำค่ารักษาเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันรับโดย เดบิต เงินสด 4,374.- เครดิต เงินมัดจำค่ารักษา 4,374.-
6. บันทึกรายได้ประจำวัน (เงินรับนอกงบประมาณอื่น ๆ) เมื่อ ได้รับรายได้ค่ารักษาจากคนไข้นอก จะถือว่าเป็นเงินรับนอกงบประมาณอื่น ๆ ซึ่งจะรวบรวมว่าแต่ละวันได้รับรายได้ค่าอะไรมาบ้าง ก็จะลงข้อมูลในเมนูบันทึกรายได้อื่น ๆ โดยแยกเมนูเพิ่มเป็น “รายได้ประจำวัน”
 รูปภาพ 17
เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อย โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันขายโดย
รูปภาพ 18
7. จ่ายคืนเงินมัดจำค่ารักษา หาก คนไข้ไม่มาเข้ารับการรักษา ภายใน 90 วัน สามารถมาขอรับเงินมัดจำคืนไปได้ โดยทางโรงพยาบาลจะต้องทำการจ่ายคืนเงินมัดจำค่ารักษา เมนูที่ใช้คือ เมนูขาย –> ข้อ 2 ขายเงินสด -> จ่ายคืนเงินมัดจำค่ารักษา
 รูปภาพ 19
เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันจ่ายโดย
 รูปภาพ 20
8. ขายเงินเชื่อ (คนไข้หน่วยงานอื่น) กรณี ที่มีหน่วยงานอื่น ส่งคนไข้ในสังกัดมารักษาที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะเปิดบิลขายเชื่อเพื่อเรียกเก็บเงินจากหน่วยงานนั้น ๆ จะไม่ได้เรียกเก็บจากคนไข้โดยตรง การสั่งพิมพ์ฟอร์ม 1 จะเป็นฟอร์ม “ใบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล (กรณีส่วนราชการเป็นผู้เบิกเงินให้)” เพื่อส่งให้หน่วยงานนั้น ๆ ส่วนฟอร์ม 2 จะเป็นฟอร์ม “ใบเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล” ***ดูภาคผนวก หน้า 7-8***
รูปภาพ 21
 รูปภาพ 22
เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อย โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันคนไข้นอก/คนไข้ในโดย
 รูปภาพ 23
9. รับชำระหนี้-จากหน่วยงานอื่น เมื่อ ถึงวันครบกำหนด หน่วยงานต่าง ๆ ก็จะส่งเงินมาให้โรงพยาบาลเพื่อเป็นการชำระหนี้ ทางโรงพยาบาลก็จะออกใบเสร็จรับเงินให้กับหน่วยงานนั้น ๆ
 รูปภาพ 24
เมื่อกรอกรายละเอียดเรียบร้อย โปรแกรมจะลงบัญชีในสมุดรายวันรับโดย
 รูปภาพ 25 ***ดูภาคผนวก หน้า 9*** รายการทรัพย์สิน (ครุภัณฑ์) 1. กำหนดประเภท/หมวดของครุภัณฑ์ เนื่อง จากรหัสครุภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม จำนวนหลักมีมากกว่าที่โปรแกรมรับได้ (โปรแกรมรับได้เพียง 15 หลัก) จึงได้มีการประยุกต์โปรแกรมโดยตัด 4 หลักแรกของรหัสครุภัณฑ์ มาใช้เป็นหมวด/ประเภทของครุภัณฑ์แทน เมนูที่ใช้คือ เมนูเริ่มระบบ –> 2. กำหนดตารางข้อมูล –> 52. หมวดทรัพย์สิน
 รูปภาพ 26
2. กำหนดรหัสครุภัณฑ์
 รูปภาพ 27
หากคุณมีรายละเอียดของครุภัณฑ์มากกว่าที่หน้าจอแสดงไว้ให้กรอก คุณสามารถกด Alt-R เพื่อใส่รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ 10 บรรทัด เช่น ซื้อจากใคร, วิธีการได้มา, ยี่ห้อ เป็นต้น เมื่อคุณกรอกรายละเอียดของครุภัณฑ์แต่ละตัวเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะคิดค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ให้โดยอัตโนมัติ และลงบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปโดย เดบิต ค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์ เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-ครุภัณฑ์ |