... ระบบบัญชีเอ็กซ์เพรส | ระบบบัญชี Expess | โปรแกรมบัญชี Express | โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป | โปรแกรม Express Online | ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express | ใบกำกับภาษีสำเร็จรูป 5 ชั้น...
เคล็ดลับการใช้งานโปรแกรม
1   ปิดหน้าจอเตือน(Security Warning) เวลาเปิดโปรแกรม Express
2   การกระทบยอด ภงด50, ภ.พ.30
3   การปฏิบัติในกรณีรับเช็คชำระหนี้แล้วเช็คมีปัญหา
4   ตัวอย่างวิธีการนำ Express ไปใช้งานกับธุรกิจผลิต
5   ซ่อนระบบบัญชี Express จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
6   การบันทึกรับคืนหรือส่งคืนสินค้าที่ซื้อ/ขายในปีก่อน (ประมวลผลสิ้นปีไปแล้ว)
7   ใช้โปรแกรมมาหลายปี ไม่เคยปิดบัญชี ต้องทำอย่างไร
8   ทำไมพิมพ์แบบฟอร์ม เส้นตารางกลายเป็นตัวเลขไทย
9   Perpetual/Periodic , FIFO/Average เลือกใช้แบบไหนดี
10   ปีใหม่ทีไร วันที่ไม่อยู่ในงวดทุกที ?
11   ปรับขนาดตัวอักษรของ Express ให้อ่านง่ายขึ้น
12   วิธีการปิดประมวลผลสิ้นปีในโปรแกรม Express
13   วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ของโปรแกรม Express
14   วิธีการแปลงข้อมูลจาก Excel มาใช้ใน Express
15   การใช้งาน Express กับงานบัญชีในโรงพยาบาล
16   วิธีแก้ไขข้อผิดพลาดจากการยื่นภาษีผ่าน Internet
17   วิธียื่นภาษีผ่าน Internet
18   ทำความเข้าใจกับวิธีกำหนดสิทธิการใช้งานในโปรแกรม Express
19   ป้อนวันที่รับของแยกตามรายการสินค้าในใบสั่งซื้อ (ใบสั่งขายก็ทำได้เช่นกัน)
20   ทำความเข้าใจวิธีลงบัญชีของ Express
21   พิมพ์งานจาก Express ออกทางเครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ
22   วิธีคำนวณต้นทุนในโปรแกรม Express
23   การรวมรายการของรหัสลูกค้า 2 รหัส ให้เป็นรหัสเดียว
24   จัดเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย-แยกข้อมูล
25   การนำรายงานจาก Express ไปใช้ใน Excel
26   ค้นหาเอกสารเพื่อตรวจทานได้ง่ายๆ
27   ปกป้องข้อมูลในโปรแกรม Express ให้ปลอดภัย
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
  • ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express
 
ตัวอย่างวิธีการนำ Express ไปใช้งานกับธุรกิจผลิต
 

การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น 
1.  ขั้นตอนการกำหนดเลขที่บัญชี
ให้คุณกำหนดเลขที่บัญชีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไว้ในผังบัญชีที่ เมนูบัญชี ข้อ 2. ผังบัญชี ดังนี้

Image 

Image
  
หมาย เหตุ คุณสามารถสร้างงบต้นทุนผลิตได้ที่ เมนูบัญชี ข้อ 9. สร้างงบการเงิน โดยดึงเลขที่บัญชีที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตไปแสดง (อาจจะดูตัวอย่างการสร้างงบการเงินได้จากงบต้นทุนขาย ที่มีอยู่แล้วในโปรแกรม) ซึ่งเมื่อมีบันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับการผลิต ก็จะสามารถพิมพ์งบเพื่อดูต้นทุนผลิตที่เกิดขึ้นได้ทันที
  
2.  ขั้นตอนการกำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า
โดย แยกประเภทสินค้าตามเลขที่บัญชีว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือ วัตถุดิบที่ เมนูเริ่มระบบ ข้อ 1. กำหนดค่าเริ่มต้น / ข้อ 3 .ระบบสินค้าคงเหลือ / ข้อ 2 .กำหนดกลุ่มบัญชีสินค้า
  
Image 

Image
  
3.  ขั้นตอนการกำหนดสินค้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบ
ให้ บันทึกรายละเอียดที่เกี่ยวกับสินค้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบ ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในขั้นตอนการผลิต เช่น สัปปะรด ,น้ำตาลทราย ,กระป๋อง ,ฉลาก และ สัปปะรดกระป๋อง เป็นต้น ที่ เมนูสินค้า ข้อ 2. รายละเอียดสินค้า
  
Image 
  
Image 
  
Image 
  
4.  ขั้นตอนการกำหนดรหัสผู้จำหน่าย
ให้กำหนดรหัสเจ้าหนี้ที่ใช้ติดต่อในการซื้อวัตถุดิบ ที่ เมนูซื้อ ข้อ 6. รายละเอียดผู้จำหน่าย
  
Image 
  
5.  ขั้นตอนการกำหนดรหัสลูกค้า
เพื่อใช้ในการบันทึกการขายสินค้าสำเร็จรูป ให้กับลูกค้าที่ เมนูขาย ข้อ 6. รายละเอียดลูกค้า
  
Image 
  
6.  ขั้นตอนการกำหนดรหัสค่าใช้จ่าย
เป็น การกำหนดรหัสค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตสินค้า เช่น ค่าแรง และ ค่าโสหุ้ยต่าง ๆ ที่ เมนูซื้อ ข้อ 7. รายละเอียดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  
Image


ขั้นตอนในการทำงาน 
1.  เมื่อมีการซื้อวัตถุดิบเข้าสต็อก  ให้คุณมาทำการบันทึกที่  เมนูซื้อ ข้อ 2.  ซื้อเงินสด หรือ ข้อ 4. ซื้อเงินเชื่อ เวลาที่คุณบันทึกซื้อคุณต้องอ้างถึงรหัสสินค้าที่ได้กำหนดไว้ในรายละเอียด สินค้าผลก็คือโปรแกรมจะไปเพิ่มสต็อก
ตามรหัสสินค้าที่อ้างถึง
  
Image 
  
กรณีบันทึกบัญชีแบบ Perpetual โปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้
  
Image
        
กรณีบันทึกบัญชีแบบ Periodic  โปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้

Image  
  
2.  เมื่อมีการเบิกวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปให้คุณไปบันทึกที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้า / ข้อ 1.จ่ายสินค้าภายใน / จ่ายวัตถุดิบเพื่อผลิต โดยคุณต้องอ้างถึงรหัสสินค้าที่เป็นวัตถุดิบจากหน้าจอรายละเอียดสินค้าที่ ต้องการนำไปทำการผลิต  โปรแกรมจะทำการตัดสต๊อกให้
  
Image 
  
กรณีบันทึกบัญชีแบบ Perpetual โปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้

Image  
  
สำหรับวิธี  Periodic จะไม่มีการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันให้
  
3.  เมื่อคุณมีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิตประเภทอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงงาน ค่าโสหุ้ยในการผลิต  ให้คุณสามารถเลือกบันทึกค่าใช้จ่ายได้ 2 แห่ง คือ
3.1     บันทึกใน เมนูบัญชี ข้อ 1.รายการประจำวัน / สมุดรายวันจ่าย โดยตรง หรืออาจจะสร้างสมุดรายวันการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 เล่มเพื่อใช้บันทึกรายการประเภทนี้โดยเฉพาะ
3.2     หรือบันทึกที่ เมนูซื้อ ข้อ 5. บันทึกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  
Image 
  
ทั้ง Perpetual และ Periodic โปรแกรมจะบันทึกบัญชีเหมือนกัน
  
Image 
  
4.  ปรับปรุงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามข้างต้นเข้าบัญชีงานระหว่างทำ(กรณีการบันทึกบัญชีแบบ Perpetual เท่านั้น)  โดยทำรายการที่ เมนูบัญชี ข้อ 1. รายการประจำวัน / สมุดรายวันทั่วไป (หรือสมุดรายวันการผลิต กรณีมีการสร้างเพิ่มไว้)
  
Image 
  
5. เมื่อกระบวนการผลิตเสร็จสิ้น  คุณต้องมีการบันทึกรับสินค้าสำเร็จรูปเข้าสต็อกเพื่อเก็บไว้ทำการขายต่อไป  ให้คุณมาทำการบันทึกรับสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วเข้าสต๊อกที่ เมนูสินค้า ข้อ 1. รายการประจำวันสินค้า / ข้อ 3. ปรับปรุงยอดสินค้า / รับสินค้าสำเร็จรูปจากการผลิต ซึ่งคุณต้องคำนวณราคาต้นทุนรวมในการผลิตของสินค้าจากภายนอกโปรแกรม  แล้วค่อยนำยอดมาคีย์เข้าไป
  
Image 
  
กรณีบันทึกบัญชีแบบ Perpetual โปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้

Image  
                                                                
สำหรับวิธี Periodic โปรแกรมจะไม่บันทึกบัญชีให้
  
6.  เมื่อถึงเวลาที่มีการจำหน่ายสินค้า ให้คุณไปทำการบันทึกการขายเพื่อทำการตัดสต๊อกและตั้งยอดลูกหนี้ที่ เมนูขาย ข้อ 4. ขายเงินเชื่อ (หรืออาจจะบันทึกเป็น การขายเงินสด ที่เมนูขาย ข้อ 2.)
  
Image 
  
กรณีบันทึกบัญชีแบบ Perpetual โปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้

Image  
  
กรณีบันทึกบัญชีแบบ Periodic  โปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้

Image  
  
สามารถดูรายงานสินค้าคงเหลือ จาก รายงาน 427
  
Image

 


ตัวแทนจำหน่ายระบบบัญชีเอ็กซ์เพรส |
ระบบบัญชี Expess | โปรแกรมบัญชี Express | โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป | โปรแกรม Express Online | ตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมบัญชี Express | ฟอร์มใบกำกับภาษีสำเร็จรูป

CopyRight 2012© www.cdginnovation.com
Contact Us : online@cdginnovation.com
Tel. 08-3444-7676, 08-7980-6789

สั่งซื้อโปรแกรมโทร 0834447676